ราชวงศ์คุปตะ (ค.ศ. 863 - 1149) ของ ประวัติศาสตร์อินเดีย

ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์คุปตะ

เมื่อไม่มีพวกกุษาณะเป็นโอกาสให้แคว้นมคธเรืองอำนาจอีกครั้งภายใต้พวกลิจฉวี ในค.ศ. 863 จันทรคุปต์ แต่งงานกับลูกสาวพวกลิจฉวี จึงได้ครองแคว้นมคธภายใต้ราชวงศ์คุปตะ พระโอรสคือพระเจ้าสมุทรคุปต์ แผ่ขยายอิทธิพลคุปตะไปทางใต้แทนที่ราชวงศ์สาตวหนะ ประมาณค.ศ. 900 ราชวงศ์คุปตะก็ได้อินเดียไปครึ่งทวีป และค.ศ. 952 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ปราบพวกสักกะในแคว้นมัลละได้หมด

สมัยคุปตะเป็นสมัยที่ศิลปวัฒนธรรมอินเดียรุ่งเรือง เป็นยุคทองของศาสนาฮินดูและพุทธ คัมภีร์ปุราณะก็ถือกำเนิดในสมัยนี้ แต่ราชวงศ์คุปตะก็เสื่อมลง ด้วยการรุกรานจากพวกหุนะ หรือ พวกฮั่น (Huns) หรือ เฮฟทาไลท์ (Hephthalites) จากเอเชียกลาง พวกหุนะบุกทะลุทะลวงเข้ามายึดได้ตั้งแต่เทือกเขาฮินดูกูชถืงแคว้นมัลละ ราชวงศ์คุปตะอ่อนแอลงและแตกออกเป็นอาณาจักรย่อย ๆ ขณะที่ราชวงศ์คุปตะยังคงครองแคว้นมคธอยู่แต่สูญเสียการควบคุมอาณาจักรอื่น

ส่วนทางใต้ใน ค.ศ. 888 ราชวงศ์คาดัมบา (Kadamba dynasty) เป็นราชวงศ์คันนาดา เป็นพวกฑราวิท ตั้งตนขึ้นมามีอำนาจแทนราชวงศ์สาตวหนะเดิมและต้านทานอินธิพลของราชวงศ์คุปตะได้ นอกจากพวกทมิฬแล้วราชวงศ์คาดัมบาเป็นราชวงศ์ดราวิเดียนราชวงศ์แรกที่ได้ปกครองตนเอง ขณะที่พวกทมิฬก็สูญเสียเอกราชให้แก่ราชวงศ์กัลพร์ (Kalabhras)

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติศาสตร์อินเดีย